อาร์เซน่อล แม้ปัจจุบัน อาร์เซนอลจะไม่ค่อยได้โชว์ฟอร์มที่ยอดเยี่ยมเท่าไรนัก แต่ก็ยังมีแฟนบอลทั้งชาวอังกฤษและทั่วโลกที่ยังจงรักภักดีอย่างเหนียวแน่น รอเวลาที่ไอ้ปืนใหญ่จะยิงฉลองชัยได้อีกครั้ง
ลองมาทำความรู้จักกับประวัติของทีมนี้ดู ประวัติ อาร์เซน่อล แล้วจะเข้าใจว่าทำไมอาร์เซนอลถึงยังอยู่ในใจแฟนบอลจำนวนมากมายมาจนถึงตอนนี้
เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
ประวัติ อาร์เซน่อล
จุดกำเนิด สโมสรฟุตบอล “อาร์เซนอล” ก่อนจะมาเป็นทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดทีมหนึ่งในพรีเมียร์ลีก ลีกระดับสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ
อาร์เซนอล เคยมีชื่อเดิมว่า ไดอัล สแควร์ (Dial Squares) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1886 โดยเหล่าคนงานในโรงงานผลิตปืนใหญ่ (Woolwich Arsenal Armament Factory) ในเขตวูลวิช (Woolwich) ของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
และในปีเดียวกันนี่เอง ที่ทีมไดอัล สแควร์ ได้รับชัยชนะเหนือทีมคู่แข่ง อีสเทิร์น วันเดอเรอร์ส เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ภายหลังจากนั้น จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นทีม รอยัล อาร์เซน่อล (Royal Arsenal)
และเข้าร่วมการแข่งขันในเกมท้องถิ่นต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และได้รับถ้วยรางวัลแรกในชื่อ Kent Senior Cup และ London Charity Cup จนกระทั่งเข้าสู่การแข่งขันในระดับอาชีพอย่างจริงจัง

และได้มีการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น วูลวิช อาร์เซน่อล (Woolwich Arsenal) ในปี ค.ศ. 1891

หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1893 ทีมวูลวิชอาร์เซนอลได้เข้าร่วมในการแข่งขันฟุตบอลลีกเป็นครั้งแรก โดยเริ่มจากดิวิชั่นสอง ทีมใช้เวลาถึง 11 ปี ถึงจะได้ขยับขึ้นมาเล่นกับดิวิชั่นหนึ่งในปี ค.ศ. 1904
ประวัติสโมสรอาร์เซน่อล แบบย่อ
- ก่อตั้ง: ค.ศ. 1886
- ชื่อเดิม: ค.ศ. 1886 ไดอัล สแควร์ (Dial Squares) แล้วเปลี่ยนเป็น รอยัล อาร์เซน่อล (Royal Arsenal) ในปีเดียวกัน
- : ค.ศ. 1891 วูลวิช อาร์เซน่อล (Woolwich Arsenal)
- : ค.ศ. 1914 อาร์เซน่อล (Arsenal) จนถึงปัจจุบัน
- ชื่อเล่น: The Gunners (ไอ้ปืนใหญ่)
แต่ถึงจะได้เลื่อนขึ้นมาแล้ว ทีมก็เจอกับวิกฤตทางการเงินอย่างหนัก เพราะปัญหาทางภูมิศาสตร์ของทีม ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่คับแคบและยากต่อการเดินทางมาเข้าชม จึงทำให้มีแฟนบอลน้อย ซึ่งก็ส่งผลต่อจำนวนผู้เข้าชม รวมถึงค่าใช้จ่ายของสโมสรที่นับวันก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
และผลจากปัญหานี้ ทำให้ต้องมีการประกาศขายทีมให้กับ เฮนรี่ นอร์ริส (Henry Norris) นักธุรกิจที่ให้ความสนใจกับการลงทุนในเกมกีฬาชนิดนี้ ซึ่งขณะนั้นเขาก็เป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลฟูแล่มอยู่ด้วย

เฮนรี่ นอร์ริส คิดจะรวมทีมวูลวิชอาร์เซนอล กับทีมฟูแล่มเข้าด้วยกันเพื่อลดค่าใช้จ่าย
แต่นับเป็นโชคดีของทีมที่สมาคมฟุตบอลอังกฤษไม่อนุญาตให้ทำเช่นนั้น เฮนรี่ นอร์ริสจึงได้พยายามหาที่ตั้งใหม่ให้กับทีม ซึ่งขณะนั้นวูลวิชอาร์เซนอลก็ตกลงมาอยู่ในดิวิชั่นสองอีกครั้ง
ในที่สุด วูลวิชอาร์เซนอลก็มีที่อยู่ใหม่คือ ไฮบิวรี่ (Highbury) ที่อยู่บริเวณลอนดอนเหนือ และมีสนามฟุตบอลเป็นของตัวเองในชื่อ อาร์เซนอลสเตเดียม

“เวลาที่คุณเริ่มต้นเชียร์ทีมฟุตบอลซักทีม คุณไม่ได้เชียร์เพราะว่าถ้วยแชมป์ ผู้เล่น หรือว่าประวัติศาสตร์ของทีม แต่คุณเชียร์เพราะว่าคุณค้นพบตัวเองที่ใดที่หนึ่งในนั้น”
เดนนิส เบิร์กแคมป์
และที่สำคัญที่สุดคือ การตัดชื่อวูลวิชออก เพราะตอนนี้ทีมกำลังเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ซึ่งก็เหมาะสมที่สุดที่จะเหลือแค่ชื่อทีม “อาร์เซนอล” และแน่นอนว่า หลังจากนั้นไม่นาน อาร์เซนอลก็ได้กลับขึ้นมาดิวิชั่นหนึ่งอีกครั้ง โดยที่ไม่เคยตกไปที่ดิวิชั่นสองอีกเลยมาจนถึงปัจจุบัน
การประสบความสำเร็จในยุคเริ่มต้น ที่แฟนบอลไม่ลืมเลือน
จุดเริ่มต้นของการประสบความสำเร็จ เริ่มขึ้นจากชายชื่อ เฮอร์เบิร์ต แชปแมน (Herbert Chapman) ผู้จัดการทีมที่เคยทำให้ทีมฮัดเดิลฟิล์ดทาวน์ ได้แชมป์ลีกมาแล้วถึง 2 สมัยติดกัน
เมื่อก้าวเข้ามาคุมทีมอาร์เซนอล สิ่งที่แชปแมนทำก็คือ การเปลี่ยนระบบการซ้อมใหม่ทั้งหมด โดยนำความรู้และเทคนิคในการเล่นต่างๆ มาประยุกต์ใช้มากขึ้น

รวมถึงมีการคว้าตัวนักเตะชื่อดังหลายคนมาร่วมงาน ซึ่งหลายคนก็ยังเป็นตำนานมาจนถึงทุกวันนี้ เช่น อเล็กซ์ เจมส์, เดวิด แจ็ค, คลิฟฟ์ บาสติน จนทำให้อาร์เซนอลกลายเป็นทีมที่ยิ่งใหญ่และถูกจับตามองมากในขณะนั้น
และทีมก็ไม่ทำให้ทุกคนผิดหวัง ด้วยการคว้าแชมป์เอฟเอคัพเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของทีมเมื่อฤดูกาล 1929-1930 และยังได้แชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง 2 สมัยติดกันในปี 1930-1931 และ 1931-1932 เรียกได้ว่าอาร์เซนอลกำลังอยู่ในยุคที่รุ่งเรืองมากๆ ยุคหนึ่ง
จนถึงขั้นที่สถานีรถไฟใต้ดินแถวนั้น ยังเปลี่ยนชื่อเป็นเป็นสถานีอาร์เซนอลตามไปด้วย
อาร์เซนอลอาจจะเป็นทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากกว่านี้ ถ้าเฮอร์เบิร์ต แชปแมนจะไม่เสียชีวิตกะทันหันด้วยโรคประจำตัวไปเสียก่อน
แต่ด้วยมรดกทางการฝึกซ้อมต่างๆ ที่แชปแมนทิ้งไว้ให้ ทำให้โจ ชอว์ และจอร์จ อัลลิสัน ที่เป็นผู้จัดการทีมยุคต่อมาก็ยังสามารถทำให้อาร์เซนอลได้แชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง และแชมป์เอฟเอคัพได้อีกครั้ง
ก่อนที่ทุกอย่างจะหยุดชะงักเพราะการมาของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งส่งผลรุนแรงต่อทีมอาร์เซนอลเป็นอย่างมาก เพราะมีนักเตะบางคนที่เสียชีวิตจากสงครามครั้งนี้
ถึงแม้ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จะยุติลง และอาร์เซนอล ภายใต้การนำของทอม วิทเทคเกอร์ ที่ถือเป็นลูกหม้อโดยตรงของจอร์จ อัลลิสันจะเข้ามาคุมทีม และทำให้ทีมได้แชมป์ดิวิชั่นหนึ่งถึง 2 สมัย และได้แชมป์เอฟเอคัพอีกครั้ง
แต่ภายหลังจากนั้น อาร์เซนอลก็ไม่เคยได้แชมป์อะไรอีกเลย และไม่สามารถคว้าตัวนักเตะดังๆ มาร่วมทีมได้อีก อาร์เซนอลทำได้แค่เพียงรักษาตำแหน่งตัวเองไว้กลางๆ ลีกเป็นแบบนี้เกือบ 20 ปี จึงจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้ง
อาร์เซนอล กับความเปลี่ยนแปลงภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ในปี ค.ศ. 1966 ชื่อของอาร์เซนอลก็กลับมาเป็นที่พูดถึงของชาวอังกฤษอีกครั้ง ภายในผู้จัดการทีมที่ชื่อ เบอร์ตี้ มี (Bertie Mee) อดีตนักกายภาพบำบัดที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบต่างๆ ภายในสโมสรอีกครั้ง
แม้ทีมจะเข้าไปถึงรอบชิงของลีกคัพ (คาราบาวคัพในปัจจุบัน) ได้ถึงสองครั้ง แต่ก็พลาดท่าให้คู่แข่งทั้งสองครั้ง
แต่ในที่สุด อาร์เซนอลก็คว้าแชมป์บอลยุโรปเป็นครั้งแรกในชื่อ อินเตอร์ซิตี้แฟร์คัพ (Inter-Cities Fairs Cup) และมาคว้าดับเบิ้ลแชมป์ในฤดูกาล 1970-1971 โดยได้แชมป์ทั้งแชมป์เอฟเอคัพ (FA Cup) และแชมป์ลีก (Football League First Division)

แต่ก็ดูเหมือนว่ากราฟของอาร์เซนอลจะตกลงมาอีกครั้ง เพราะไม่สามารถคว้าแชมป์อะไรได้อีกเลยเป็นเวลา 10 ปีหลังจากนั้น
อาร์เซนอลทำท่าจะกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ภายใต้การทำทีมของ จอร์จ เกรแฮม (George Graham) ชายผู้ที่เคยค้าแข้งให้กับทีมมาก่อน และในที่สุดอาร์เซนอลก็คว้าแชมป์มากมาย ทั้งแชมป์ลีกคัพ แชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง
และยังได้ดับเบิ้ลแชมป์อีกครั้ง ทั้งแชมป์เอฟเอคัพ และแชมป์ลีกคัพ (Football League Cup) ในปี 1992-1993 รวมถึงได้แชมป์ยุโรปอีกครั้งจากถ้วยยูฟาคัพวินเนอร์สคัพ (European Cup Winners’ Cup) อีกด้วย

เพียงแค่ปีแรก (ฤดูกาล 1986–87) จอร์จ เกรแฮม ก็สามารถนำถ้วยแชมป์ลีกคัพ มาให้สโมสรได้สำเร็จ ด้วยการเอาชนะทีมลิเวอร์พูล ไปด้วยสกอร์ 2 – 1
นอกจากฝีมือการทำทีมของจอร์จ เกรแฮมแล้ว อีกคนที่ต้องพูดถึงคือ โทนี่ อดัมส์ (Tony Adams) กัปตันทีมคนเก่งที่ถือว่าเป็นเดอะแบกให้กับทีมอย่างแท้จริง
อาร์เซนอลดูเหมือนจะใกล้ถึงจุดสูงสุด แต่ก็เหมือนฟ้าผ่าลงมา เมื่อจอร์จ เกรแฮมถูกบอร์ดบริหารไล่ออก เนื่องจากมีการเปิดโปงว่าเกรแฮมรับสินบนจากเอเยนต์ของนักเตะคนนึง
สภาพของอาร์เซนอลในเวลานั้นดูเหมือนจะเกิดความระส่ำระส่ายขึ้นอีกครั้ง
สู่จุดประสบความสำเร็จสูงสุด อย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน
ดูเหมือนโชคชะตาของอาร์เซนอลจะยังไม่แย่จนเกินไปนัก เมื่อ อาร์แซน เวนเกอร์ (Arsène Wenger) ชายชาวฝรั่งเศสก้าวเข้ามาคุมทีมในปี ค.ศ. 1996
และเขาก็กลายเป็นตำนานที่ยังมีลมหายใจมาจนถึงปัจจุบันนี้ ด้วยการเป็นผู้จัดการทีมที่ทั้งเก่งและยิ่งใหญ่ที่สุดของอาร์เซน่อล

อาร์แซน เวนเกอร์
10 สิ่งยิ่งใหญ่ของผู้ชายชื่อ อาร์แซน เวนเกอร์
ความเด็ดขาดของเวนเกอร์ เป็นที่พูดถึงในเรื่องของการเปลี่ยนระบบซ้อมทั้งใหม่หมดอีกครั้ง รวมทั้งเปลี่ยนเทคนิครวมถึงแทคติกต่างๆ ในการเล่น
และควบคุมโภชนาการของนักเตะอย่างเข้มงวด สั่งให้งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาลและเกลือ ถึงขนาดที่นักเตะประท้วงในรถว่าพวกเขาต้องการช็อกโกแลต
อาร์แซน เวนเกอร์ โคตรกุนซือ ตำนานปืน !
“คุณไม่สามารถเล่นให้กับ อาร์เซนอล แล้วยอมแพ้ให้ใครง่ายๆ ไม่ว่าสกอร์จะตามหลังอยู่เท่าไหร่”
อาร์แซน เวนเกอร์
อาร์เซน่อล ไร้พ่าย
ผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้อาร์เซนอลกลับมาคว้าดับเบิ้ลแชมป์ ทั้งเอฟเอคัพ และแชมป์ลีกได้ถึง 2 ครั้ง คือในปี 1997-1998 และ 2001-2002
แต่ที่ทำให้แฟนบอลประทับใจมาก คือการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกในปี 2003-2004 แบบที่ “ไม่แพ้สโมสรใดเลย” อาร์เซน่อล ยุคไร้พ่าย (Invincible Arsenal)

ไร้พ่ายนานที่สุด – นอกจากนี้ ยังไม่แพ้ในลีกติดต่อกันถึง 49 นัด จนกลายเป็นสถิติที่ยังไม่มีใครทำลายได้ในปัจจุบัน


สถิติ อาร์เซน่อล ไร้พ่าย 49 นัดติดต่อกัน
ในช่วงเวลานั้นนักเตะแทบไม่มีใครไม่รู้จักนักเตะของทีมอาร์เซนอล ถึงแม้จะไม่เคยดูฟุตบอลมาก่อน แต่ถ้าพูดถึงเธียร์รี่ อองรี, โรแบร์ ปิแรส, เดนนิส เบิร์กแคมป์, แอชลีย์ โคล หรือปาทริค วิเอร่า ทุกคนต่างก็รู้ว่าคนเหล่านี้เป็นนักเตะให้อาร์เซนอล เหมือนที่รู้จักว่าเดวิด เบคแฮมเตะให้แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
“I have always said Dennis Bergkamp will remain the best partner I have ever had. He is a dream for a striker.”
Thierry Henry
อาร์เซน่อล ยุคไร้พ่าย ที่ใครก็ยังทำอย่างเขาไม่ได้ | ตัวเทพฟุตบอล
NRเล่าเรื่อง : อาร์เซน่อลยุคไร้พ่าย
“Look we have won the championship, now I want you to become immortal.”
Arsène Wenger
THE ARSENAL INVINCIBLES | Full Highlights Reel | 2003/2004 | [HD]
อาร์เซน่อล ยุคไร้พ่าย รายชื่อ
รายชื่อนักเตะอาร์เซน่อล ยุคไร้พ่าย ภาษาอังกฤษ
นักเตะ | ตำแหน่ง | อายุ (ฤดูกาล 2003-04) |
Jens Lehmann | Goalkeeper | 34 |
Stuart Taylor | Goalkeeper | 23 |
Rami Shaaban | Goalkeeper | 29 |
Craig Holloway | Goalkeeper | 19 |
Graham Stack | Goalkeeper | 22 |
Martin Keown | Centre-Back | 37 |
Pascal Cygan | Centre-Back | 30 |
Sol Campbell | Centre-Back | 29 |
Stathis Tavlaridis | Centre-Back | 24 |
Kolo Touré | Centre-Back | 23 |
Philippe Senderos | Centre-Back | 19 |
Ashley Cole | Left-Back | 23 |
Giovanni van Bronckhorst | Left-Back | 29 |
Gaël Clichy | Left-Back | 18 |
Laurén | Right-Back | 27 |
Justin Hoyte | Right-Back | 19 |
Frank Simek | Right-Back | 19 |
Patrick Vieira | Defensive Midfield | 28 |
Gilberto Silva | Defensive Midfield | 27 |
Ólafur Ingi Skúlason | Defensive Midfield | 21 |
Edú Gaspar | Central Midfield | 26 |
Cesc Fàbregas | Central Midfield | 17 |
John Spicer | Central Midfield | 20 |
Freddie Ljungberg | Right Midfield | 27 |
David Bentley | Right Midfield | 19 |
Ray Parlour | Right Midfield | 31 |
Robert Pirès | Left Midfield | 30 |
Jerome Thomas | Left Winger | 21 |
Quincy Owusu-Abeyie | Left Winger | 18 |
Ryan Smith | Left Winger | 17 |
José Antonio Reyes | Right Winger | 20 |
Dennis Bergkamp | Second Striker | 35 |
Sylvain Wiltord | Second Striker | 30 |
Nwankwo Kanu | Centre-Forward | 27 |
Francis Jeffers | Centre-Forward | 23 |
Thierry Henry | Centre-Forward | 26 |
Jérémie Aliadière | Centre-Forward | 21 |
Michal Papadopulos | Centre-Forward | 19 |
“เธียร์รี่ อองรี คือฮีโร่ของผม หลังจบยูโรเขาส่งข้อความมาหาผม เขาพยายามหาเบอร์ของผมและส่งข้อความมาหาผม เขาบอกผมว่า ผมคือฮีโร่ตัวจริง นั่นคือทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับผม”
บูคาโย่ ซาก้า
อาร์เซน่อล ยุคไร้พ่าย ตารางคะแนน

แผนอาร์เซน่อล ไร้พ่าย
รายชื่อนักเตะที่เป็นตัวหลักในยุคไร้พ่าย
ผู้รักษาประตู: เยนส์ เลห์มันน์
แบ็คขวา: โลร็อง เอตาเม่
เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ: โคโล่ ตูเร่
เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ: โซล แคมป์เบลล์
แบ็คซ้าย: แอชลี่ย์ โคล
ปีกขวา: เฟรดริก ลุงเบิร์ก
มิดฟิลด์: กิลแบร์โต้ ซิลวา
มิดฟิลด์: ปาทริค วิเอร่า
ปีกซ้าย: โรแบร์ ปิแรส
กองหน้า: เดนนิส เบิร์กแคมป์
กองหน้า: เธียร์รี่ อองรี

“In every successful team, you need a silent leader. When I say a silent leader, I mean somebody who doesn’t talk to the media, who doesn’t get headlines, but on the pitch does everything that is helpful for the team.”
Arsène Wenger
ส่องชีวิต 11 ตำนานนักเตะปืนใหญ่ ยุคไร้พ่าย พากย์ไทยโดย ตัวเทพฟุตบอล
จุดเริ่มต้นของการเข้ามาคุมทีมของเวนเกอร์ เกิดขึ้นเมื่อเขาเดินทางจากตุรกีไปโมนาโก เพื่อสำรวจหานักเตะที่สามารถนำมาปั้นได้ ซึ่งระหว่างทางเค้าต้องแวะเปลี่ยนเครื่องที่อังกฤษ เวนเกอร์เลยใช้เวลาช่วงนั้นสำรวจหานักเตะไปด้วย และได้ตั๋วชมเกมของอาร์เซนอล และได้มีการพบปะพูดคุยกับผู้บริหารสโมสร
แม้จะต้องใช้เวลาหลังจากการพบปะครั้งนั้นนานถึง 5 ปี กว่าเวนเกอร์จะได้มาเป็นผู้จัดการทีมให้กับอาร์เซนอล และกลายเป็นผู้จัดการทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแบบที่ไม่มีใครทำลายได้
อย่างหนึ่งที่ต้องพูดถึงในช่วงเวลาที่เวนเกอร์เข้ามาคุมทีม คือสไตล์การเล่นของอาร์เซนอลที่ซ้ำซาก จำเจจนถึงขั้นที่แฟนบอลเอาไปพูดกันว่าเป็นสไตล์การเล่นแบบ Boring Arsenal หรือการเล่นที่น่าเบื่อ
เนื่องจากทีมมักจะใช้งานกองหน้าเพียง 1-2 คนเท่านั้น และเมื่อไรที่ยิงประตูได้ ก็จะลงไปอุดกันทั้งทีม ไม่มีบุกอีก ซึ่งก็ทำให้ความตื่นเต้นและเร้าใจของเกมลดลง
แน่นอนว่าเมื่อสไตล์การเล่นเปลี่ยนไป ผู้เล่นเน้นให้บอลอยู่กับเท้ามากขึ้น และเน้นส่งลูกกับพื้น ไม่โยนสูง ซึ่งเป็นสไตล์การเล่นแบบฟุตบอลดัชต์ จึงทำให้เกมดูสนุกขึ้นแบบเห็นได้ชัด
หากสังเกตให้ดีจะพบว่า นักเตะชื่อดังทั้งหมดของอาร์เซนอลส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศสเกือบทั้งหมด และนักเตะชุดนี้ก็เป็นกำลังหลักของทีมชาติฝรั่งเศสด้วย อย่างปาทริค วิเอร่า ก็เป็นหนึ่งในนักเตะฝรั่งเศสชุดแชมป์โลกปี 1998 ส่วนอองรี ปิแรส และวิเอร่า ก็เป็นหนึ่งในนักเตะฝรั่งเศสชุดแชมป์ยูโรปี 2000
“We don’t buy superstars, we make them.”
Arsène Wenger
ดูเหมือนอนาคตของนักเตะเลือดฝรั่งเศสจะไปได้สวยกับทีมอาร์เซนอลที่มีผู้จัดการทีมเป็นชาวฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก จนกระทั่งการมาถึงของเชส ฟาร์เบรกัส และ อันโตนิโอ เรเยส ดาวรุ่งชาวสเปนเลือดใหม่ในปี 2003/2004 ทำให้ทีมอาร์เซนอลเริ่มมีนักเตะหลากหลายชาติมากขึ้น
“ยังเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว ตำนานแชมป์ไร้พ่าย อาร์เซนอล”
นักเตะหลายคนกล่าวถึงอาร์แซน เวนเกอร์ในแง่บวก โดยเฉพาะความสามารถทางด้านฟุตบอลของเขา ทุกคนเห็นตรงกันว่าเวนเกอร์มักจะให้โอกาสนักเตะได้เลือกวิธีการเล่นเป็นของตัวเอง และวิธีของใครที่ดูฉลาด เวนเกอร์ก็จะให้คนนั้นลงสนาม
เพราะฉะนั้น นักเตะหลายคนจึงมีความพยายามที่จะพัฒนาตัวเองมากขึ้น รวมถึงเกลียดความพ่ายแพ้อย่างรุนแรง ทุกคนกระตือรือร้นที่จะเล่นฟุตบอลจนถึงขั้นที่ว่า ทุกคนสามารถปรับจุดแข็งจุดอ่อนของตัวเองได้ โดยไม่ต้องรอให้เวนเกอร์เป็นผู้มาชี้บอก
และนี่คือเคล็ดลับหนึ่งที่ทำให้อาร์เซนอลประสบความสำเร็จที่สุด
ในช่วงเวลาที่อาร์แซน เวนเกอร์มาคุมทีมให้อาร์เซนอล สามารถทำให้ทีมคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้ 2 ครั้ง ได้แชมป์พรีเมียร์ลีก หรือแชมป์ลีกเป็นสมัยที่ 12 และ 13
และยังทำให้นักเตะหลายๆ คนได้รางวัลระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นเธียร์รี่ อองรี ได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยม ภายหลังจากที่ยิงประตูที่ 100 ให้กับอาร์เซนอล และยังมีโรแบร์ ปิแรสที่ได้รางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของผู้สื่อข่าวด้วย
อาร์แซน เวนเกอร์ ลาออก 20 เมษายน ค.ศ. 2018- ในที่สุดก็ถึงเวลาที่อาร์แซน เวนเกอร์ขอลาออกจากทีมเมื่อจบฤดูกาลปี 2017-2018 โดยคว้าสถิติผู้จัดการที่คุมทีมยาวที่สุดของอาร์เซนอลไว้ด้วย
“Arsenal was a matter of life and death to me”
Arsène Wenger
อาร์แซน เวนเกอร์ ‘ฝังหัวใจผมไว้ที่ อาร์เซน่อล’
อาร์แซน เวนเกอร์ ในวัย 68 ปี ประกาศวางมือจากการคุมทีมอาร์เซน่อล หลังจากที่เขาคุมทีมมาอย่างยาวนานถึง 22 ปี โดยเขาคุมทีมไปทั้งสิ้น 1,235 เกม มีการระบุอย่างเป็นทางการว่า เขาใช้นักเตะไปทั้งหมดรวม 221 คน ในทุกๆ รายการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
สโมสรได้จัดงานอำลาอย่างสมเกียรติให้แก่เวนเกอร์ ท่ามกลางแฟนบอลที่เต็มไปด้วยคราบน้ำตา และการบอกลา “Merci Arsene”
ยุคสมัยของนายใหญ่ต่างชาติคนแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสรอาร์เซนอล ที่วันแรกที่เขาเข้ามาคุมทีมนั้นเต็มไปด้วยคำถามว่าเขาคือใคร (Who’s Wenger) ได้รูดม่านปิดฉากลงแล้ว ด้วยถ้วยแชมป์หลายรายการ หนึ่งไร้พ่าย หนึ่งสนามซ้อมที่ลอนดอน โคลนีย์
และแน่นอนสนาม เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม ที่แม้เวนเกอร์จะยอมรับว่า ‘ไม่ขลัง’ เท่าที่ไฮบิวรี่ แต่นี่คืออนาคตของสโมสรไปอีกหลายทศวรรษต่อจากนี้
คำกล่าวลาครั้งสุดท้ายต่อหน้าแฟนอาร์เซน่อล จาก อาร์แซน เวนเกอร์
และหลังจากที่เวนเกอร์จากไป อาร์เซนอลก็ยังไม่สามารถคว้าแชมป์อะไรได้อีกเลย และไม่สามารถดึงดูดนักเตะชื่อดังมาไว้กับทีมได้อีกด้วย
ก็ต้องมาดูกันต่อไปว่า ใครจะมาเป็นผู้พลิกชะตาให้กับทีมอาร์เซนอลได้อีกครั้ง
“I won 13 leagues bus I was never near going through a season undefeated. The achievement stands above everything else, and it was Arsene’s.”
Sir Alex Ferguson on Arsene Wenger’s Invincible season.

อิทธิพลของ อาร์แซน เวนเกอร์ (ผู้เปลี่ยนประวัติศาสต์ฟุตบอลอังกฤษ)
สีแดง-ขาว สีประจำสโมสรของอาร์เซนอล สีนี้มีที่มา
นับตั้งแต่การก่อตั้งทีมขึ้นมา อาร์เซนอล (หรือ ไดอัล สแควร์ ในขณะก่อตั้ง) ได้ออกแบบเสื้อทีมให้เป็นเสื้อสีแดง แขนสีขาว และกางเกงสีขาวมาโดยตลอด เนื่องจากต้องการให้เกียรติทีมนอตติ้งแฮม ฟอเรสต์ที่ได้บริจาคอุปกรณ์ต่างๆ ให้กับสโมสร
ภายหลังเฮอร์เบิร์ต แชปแมนได้มีการปรับเปลี่ยนชุดแข่งให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังคงคอนเซปต์เสื้อแดง แขนเสื้อขาว และกางเกงขาวไว้เหมือนเดิม
และด้วยความโดดเด่นของสีชุดแข่งนี้เอง ทำให้ทีมสปาร์ต้า ปราก จากเช็ก, ทีมบรากา จากโปรตุเกส และทีมฮิเบอร์เนียน จากสก็อตแลนด์ ได้นำไปเป็นแรงบันดาลใจให้กับชุดแข่งของตัวเอง ซึ่งทั้ง 3 ทีมนี้ก็ยังใช้เสื้อที่มีสีแดงมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนชุดที่อาร์เซนอลใช้สำหรับไปเยือนคู่แข่ง แต่เดิมเป็นสีกรมท่า จนกระทั่งมีการถูกห้ามจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษที่ไม่ให้ทีมไหนเลยใส่ชุดแข่งสีกรมท่าทั้งเหย้าและเยือน เนื่องจากมีสีที่คล้ายกับสีเสื้อของกรรมการที่ตัดสินเกม
อาร์เซนอลจึงเลือกชุดเยือนเป็นเสื้อสีเหลือง และกางเกงสีน้ำเงิน ซึ่งก็ดูเหมือนจะถูกชะตากับทีมเป็นอย่างมาก เพราะชุดนี้เปิดตัวครั้งแรกก็ได้แชมป์เอฟเอคัพปี 1971 เลย และยังได้ดับเบิ้ลแชมป์อีกด้วย
มีเรื่องตลกเล่ากันว่า อาร์เซนอลได้เข้าชิงเอฟเอคัพอีกครั้งในปี 1972 กับทีมลีดส์ ยูไนเต็ด ซึ่งอาร์เซนอลได้เลือกใช้เสื้อแดง กางเกงขาวเหมือนที่เคยเป็น แต่ปรากฎว่าแพ้ให้กับลีดส์ หลังจากนั้นอาร์เซนอลเลยกลับมาใช้เสื้อเหลือง กางเกงน้ำเงินทุกครั้งที่เข้าชิงเอฟเอคัพ ซึ่งก็ได้แชมป์แทบจะทุกครั้งด้วย
ถึงแม้ว่าอาร์เซนอลจะมีการเปลี่ยนแปลงชุดไปบ้าง ตามผู้ผลิตและสปอนเซอร์ของชุดแข่ง แต่สีหลักๆ สำหรับชุดเยือนก็ยังเป็นเหลือง น้ำเงิน อยู่ดี
โลโก้ อาร์เซน่อล
โลโก้ อาร์เซน่อล Arsenal จากอดีตถึงปัจจุบัน

โลโก้ Arsenal ปัจจุบัน

เอมิเรตส์ สเตเดียม
เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม (Emirates Stadium) สนามฟุตบอลที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของพรีเมียร์ลีก
เชื่อว่าแฟนอาร์เซนอลรุ่นบุกเบิกหลายคน ยังคุ้นเคยกับสนามไฮบิวรี่อยู่ เนื่องจากมีการใช้สนามนี้มาอย่างยาวนานมาก พึ่งจะมาเปลี่ยนเป็นเอมิเรตส์สเตเดียม เมื่อปี ค.ศ. 2006 นี้เอง

สนามนี้ได้ชื่อว่าใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทีมฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก เป็นรองแค่โอลด์แทรฟฟอร์ดของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดเท่านั้น ความจุของสนามนี้อยู่ที่ 60,355 ที่นั่ง และมีมูลค่าในการก่อสร้างที่มากถึง 390 ล้านปอนด์ (1,737 ล้านบาท)
ถึงจะมีขนาดใหญ่ แต่ก็อยู่ห่างจากสนามไฮบิวรี่เพียงไม่กี่ร้อยเมตรเท่านั้น
และยังได้ชื่อว่าเป็นสนามแข่งที่สวยที่สุด เนื่องจากไม่มีหลังคาคลุมสนามแข่งเอาไว้ จึงสามารถชมทัศนียภาพโดยรอบได้แบบไม่มีสิ่งใดมาบัง
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้แฟนบอลค่อนข้างพึงพอใจและยอมรับได้กับการเปลี่ยนสนามที่ใช้มาอย่างยาวนาน
อนุสรณ์แห่งความทรงจำ ที่ยังถูกจารึกไว้ที่ เอมิเรตส์ สเตเดี้ยม
“ผมจะทุ่มเทเลือดทุกหยดให้กับสโมสรแห่งนี้ เพื่อให้มันดีขึ้น ผมจะทำให้ อาร์เซน่อล เล่นต่อบอลเร็วและมีเกมรุกในแบบที่แฟนๆ ปืนใหญ่ ทั่วโลกอยากเห็น”
มิเกล อาร์เตต้า
ลอนดอนดาร์บี้แมตช์
คู่แข่งหลักของทีมอาร์เซน่อล กับศึกดาร์บี้ลอนดอนเหนือ (North London Derby Match)
London Derby Match ลอนดอนดาร์บี้แมตช์ คืออะไร – คำว่า ศึกดาร์บี้ ในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ หมายถึง การที่ทีมฟุตบอลที่อยู่ในเมืองเดียวกันมาเจอกัน
และสำหรับอาร์เซนอลที่อยู่ในลอนดอนเหนือ คู่แข่งหลักหรือคู่ปรับจึงเป็นใครไปไม่ได้ นอกจากทีมทอตแนมฮอตสเปอร์ส หรือทีมสเปอร์สที่หลายคนรู้จักกันดี
บอกได้เลยว่าความเป็นคู่อรินี้ ไม่ใช่แค่ตั้งให้ดูมีอะไรขึ้นมาเฉยๆ แต่มีสตอรี่ที่รุนแรงถึงขั้นสร้างความเกลียดชังกันอย่างจริงจัง
อาร์เซนอล และ สเปอร์ส ทำไมถึงเกลียดกันขนาดนี้: NR เล่าเรื่อง
อย่างที่ได้กล่าวไปในประวัติของทีมอาร์เซนอลว่า เมื่อเข้าสู่ดิวิชั่นหนึ่งได้แล้ว ทีมได้ประสบกับวิกฤตทางการเงินอย่างรุนแรง จนต้องขายทีมให้กับเฮนรี่ นอร์ริส และนอร์ริสได้หาที่อยู่ใหม่ให้กับทีมอาร์เซนอล คือย่านไฮบิวรี่ ที่อยู่ในลอนดอนเหนือ
ซึ่งแต่เดิมแล้ว สเปอร์สถือว่าเป็นเจ้าถิ่นเพียงหนึ่งเดียวของย่านนี้ การที่มีทีมอื่นมาอยู่ด้วย จึงเหมือนการล้ำเส้น หรือรุกล้ำถิ่น เพราะทำให้แฟนบอลบางส่วนได้ย้ายข้างมาเอาใจช่วยอาร์เซนอลมากขึ้น
ส่งผลให้ฐานแฟนคลับของสเปอร์สน้อยลง ความไม่พอใจจึงเริ่มเกิดขึ้น
แต่ชนวนเหตุที่แท้จริง อยู่ที่ภายหลังจากการยุติของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปี ค.ศ. 1920 สมาคมฟุตบอลอังกฤษได้มีการเพิ่มจำนวนทีมแข่งขันในดิวิชั่นหนึ่งจาก 20 ทีมมาเป็น 22 ทีม เท่ากับว่าจะต้องมีการเลือกทีมจากดิวิชั่นสองเพิ่มขึ้นมาอีกสองทีม
ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพียงแค่เลือกทีมอันดับที่ 1 และอันดับที่ 2 มาก็จบแล้ว แต่ประเด็นอยู่ที่การเลือกทีมที่ 3 โดยให้ตัดสิทธิ์ทีมลำดับที่ 20 ของดิวิชั่นหนึ่งให้ย้ายลงมาเล่นดิวิชั่นสองแทน
และผลก็คือ อาร์เซนอลที่ขณะนั้นอยู่ในลำดับที่ 5 ในดิวิชั่นสองได้รับเลือกให้เข้าสู่ดิวิชั่นหนึ่ง ส่วนทีมลำดับที่ 20 ของดิวิชั่นหนึ่งที่ตกลงมาก็คือสเปอร์สนี่เอง
แม้จะมีการกล่าวหาว่าเฮนรี่ นอร์ริส ติดสินบนกับสมาคมเพื่อให้อาร์เซนอลได้ขึ้นมา แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ทำให้แฟนบอลสเปอร์สยิ่งเกลียดอาร์เซนอลมากขึ้น และกลายเป็นคู่อริที่มีการแข่งขันดุเดือดทุกครั้งที่เจอกันนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
นอกจากนี้ อาร์เซนอลยังมีคู่แข่งที่แย่งชิงความยิ่งใหญ่ และมักจะเป็นคู่ที่แฟนบอลซื้อตั๋วเข้ามาชมอย่างถล่มทลาย ได้แก่ ลิเวอร์พูล, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และเชลซี แม้ภายหลังจะเพิ่มแมนเชสเตอร์ ซิตี้เข้ามาด้วย
แต่สำหรับในช่วงปี 2000 ไม่มีคู่แข่งทีมไหนจะสร้างความลุ้นระทึกให้กับแฟนบอลเท่ากับทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดอีกแล้ว เนื่องจากทั้งคู่ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ และผลัดกันได้ถ้วยมาตลอด
แต่ภายหลังก็เริ่มซาลงไป เพราะอันดับของทั้งคู่ไม่อยู่ในสถานะที่จะเป็นคู่กัดที่สมศักดิ์ศรีได้แบบเมื่อก่อนอีกต่อไป
The Battle of Old Trafford ศึกที่ไม่มีแฟนบอลอาร์เซนอลคนไหนจำไม่ได้
แม้อาร์เซนอลจะต้องเจอกับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดทุกปี ในฐานะคู่แข่งร่วมลีก และอาจมีบางครั้งที่ต้องเป็นคู่แข่งชิงถ้วยต่างๆ
แต่สำหรับในปี 2003 (21 กันยายน ค.ศ. 2003) การพบกันของทั้งคู่ ถูกตั้งชื่อโดยแฟนบอลว่า Battle of Old Trafford เพราะเต็มไปด้วยความดุเดือด และความชุลมุนวุ่นวาย ถึงขั้นที่นักเตะหลายคนโดนทั้งโทษปรับเงิน และโทษแบนจากสมาคมฟุตบอลอังกฤษ
The Battle of Old Trafford! | Man Utd v Arsenal 2003-04
ในช่วงเวลานั้น ทั้งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และอาร์เซนอลกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ฟอร์มดีที่สุด ทุกคนต่างกระหายชัยชนะจากการแข่งในครั้งนี้
อาร์เซนอลมี โซล แคมป์เบลล์, ปาทริค วิเอรา, เธียร์รี่ อองรี, โรแบร์ ปิแรส, เฟดดริก ลุงเบิร์ก
ส่วนแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดมี ไรอัน กิกส์, ริโอ เฟอร์ดินนาน, แกรี่ เนวิลล์, รอย คีน, รุด ฟาน นิสเตอรอย และคริสเตียโน่ โรนัลโด้
แน่นอนว่าเกมนี้ดุเดือดมาก และจุดพีคที่สุดอยู่ที่นาทีที่ 80 เมื่อปาทริค วิเอร่าโดนใบแดง และนาทีที่ 89 ที่แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้จุดโทษ แต่นิสเตอรอยยิงจุดโทษไม่เข้า ทำให้นักเตะของอาร์เซนอลหลายคนวิ่งเข้าไปเยาะเย้ย และสัพยอกนิสเตอรอยอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดความชุลมุนขึ้น

รวมสถิติที่สำคัญของทีมอาร์เซนอล ไอ้ปืนใหญ่ ที่รอวันระเบิดอีกครั้ง
- ได้แชมป์ลีก (พรีเมียร์ลีกและดิวิชั่นหนึ่ง) 13 สมัย มากเป็นอันดับ 3 ของทีมฟุตบอลอังกฤษทั้งหมด
- เป็นทีมฟุตบอลที่ได้แชมป์เอฟเอคัพ 14 สมัย มากที่สุดและยังไม่มีใครทำลายได้ในปัจจุบัน
- เป็น 1 ใน 2 ทีมที่ได้ดับเบิ้ลแชมป์ (แชมป์เอฟเอคัพ และแชมป์ลีก) 3 ครั้ง
- ไม่แพ้สโมสรใดเลยตลอดฤดูกาล 2003-2004 ถือเป็นสถิติแรกของทีมพรีเมียร์ลีก (อาร์เซน่อล ไร้พ่าย)
- ไม่แพ้สโมสรใดเลยในพรีเมียร์ลีก ติดต่อกัน 49 นัด และกลายเป็นสถิติที่ยังไม่มีใครทำลายได้ในปัจจุบัน
- เป็นทีมแรกของสโมสรฟุตบอลจากลอนดอนที่สามารถเข้าชิงถ้วยยูฟ่าแชมป์เปี้ยนส์ลีก (UEFA Champions League)
- สามารถทำประตูได้ทุกนัด ในฤดูกาล 2001-2002 และกลายเป็นสถิติสูงสุดของพรีเมียร์ลีกจนถึงปัจจุบัน
2 Comments
ครั้งนึง อาร์เซนอล เคยไปเล่น เเชมเปียน ลีก จนกลายเป็นเรื่องปกติ 🔥
.
หากย้อนกลับไปในยุคของ อาร์เเซน เวนเกอร์
ที่สมัยยังคุม อาร์เซนอล อยู่ เขามีสถิติสุดโหด
คือ การพาปืนใหญ่ไปลุย ฟุตบอลถ้วยใหญ่ของยุโรป
อย่าง ยูฟ่า เเชมเปี้ยนลีก ถึง 20 ครั้ง จาก 22 ปี ที่คุมทีม
.
จริงอยู่ที่ อาร์เซนอล ชุดไร้พ่าย การไปลุยฟุตบอลยุโรป นั้น
มันไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร เเต่อย่าลืมว่า
อาร์เซนอล ในยุค เวนเกอร์ ก็มีอยู่หลายปีเหมือนกัน
ที่ขุมกำลังสู้กับทีมใหญ่ทีมอื่นเเทบไม่ได้
เเต่ก็อาศัยประสบการณ์เเละความเก๋า
จนเอาตัวรอดมาได้เเทบทุกปีในท้ายที่สุด
.
เเต่ทุกอย่างย่อมมีเวลาของมัน ฟุตบอลที่เน้นสร้างมากกว่าซื้อ
การเป็นหนี้สนาม จนต้องปล่อยนักเตะตัวท็อปเกือบทุกปี
มันทำให้ 2 ปีหลังของ เวนเกอร์ กับ อาร์เซนอล นั้น
ไม่สวยงามเเละน่าจดจำเท่าไหร่นัก
จนมีกระเเส #wengerout ออกมาอย่างรุนเเรง
จนท้ายที่สุด อาร์เเซน เวนเกอร์ ก็ตัดสินใจยุติบทบาทของตัวเอง
ในฐานะกุนซือใหญ่ของ ทีมปืนโต อย่างที่เรารู้กัน
.
การจากไปของ เวนเกอร์ มันทำให้เห็นอะไรหลายอย่างชัดมากขึ้น
ทั้งคุณภาพนักเตะที่มี เเนวทางการบริหารทีมของเจ้าของ
เเละความคาดหวังของแฟนบอลที่มีต่อทีม
วันนี้เชื่อเหลือเกินว่า คงมีแฟนบอลจำนวนไม่น้อย
คิดถึงความธรรมดาที่เต็มไปด้วยคุณภาพ
ของชายที่ชื่อ ” อาร์เเซน เวนเกอร์ ” เหมือนกันกับผม
.
เเม้ตอนจบอาจไม่ได้เเยกทางกันสวยงามแบบที่ตั้งใจ
เเต่เชื่อว่าตอนนี้ทุกคนรุ้เเล้วว่า งานที่ เวนเกอร์ ทำ
ที่ อาร์เซนอล มาตลอด 20 กว่าปี
มันยากเเละท้าทายมากขนาดไหน
สำหรับคนๆนึงในฐานะกุนซือของทีมอย่าง อาร์เซนอล
.
https://www.facebook.com/LastCenterback/posts/484383456732767
Once a Gooner, always a Gooner