ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นอกจากการได้แชมป์ลีกของแต่ละประเทศแล้ว อีกถ้วยแชมป์ที่ไม่ว่าสโมสรใดก็อยากได้มาครอบครองให้เป็นเกียรติประวัติของสโมสร หรืออย่างน้อยก็ได้เข้ามาร่วมแข่งขันด้วย ก็คือ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก
เพราะ บอลยูฟ่า แชมป์เปียนลีก นี้ ถือเป็นถ้วยที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ความสนุกของการชิงถ้วยนี้ก็คือ สโมสรชั้นนำทั้งจากอังกฤษ อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส โปรตุเกส และอื่นๆ จะได้เข้ามาจับสลากเพื่อแบ่งสายกัน
แฟนบอลก็จะได้ลุ้นตั้งแต่การจับสลากแบ่งสายการแข่งขัน ไปจนถึงลุ้นว่าใครจะได้เจอใครบ้าง ซึ่งก็นับเป็นความแปลกใหม่และความตื่นเต้นเร้าใจที่นอกเหนือไปจากการแข่งขันภายในประเทศกันเอง ซึ่งมีให้ดูเป็นประจำทุกปีอยู่แล้ว
ในบทความนี้ เรามาทำความรู้จักกับสุดยอดบอลถ้วยยุโรป บอล ucl กันให้มากยิ่งขึ้น
เลือกอ่านหัวข้อที่ต้องการ
ก่อนจะมาเป็น ถ้วยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก

UEFA Champions League (UCL) – ก่อนที่จะมีการแข่งขันหาสุดยอดแชมป์สโมสรยุโรปยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เคยมีการแข่งขันระหว่างแชมป์ลีกยุโรปเป็นครั้งแรกในปี 1895 (27 เมษายน 1895) ที่สนาม Tynecastle Park เมือง Edinburgh ประเทศสกอตแลนด์ โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า
1895 World Championship

ในการแข่งขันครั้งนั้น เป็นการแข่งขันระหว่างแชมป์ลีกอังกฤษ คือ ซันเดอร์แลนด์ กับสโมสรฮาร์ทส์ (Heart of Midlothian F.C.) แชมป์ลีกสกอตแลนด์ แมตช์นี้ซันเดอร์แลนด์เอาชนะไปได้ 5-3 ถือเป็นแชมป์โลกสโมสรแรกในประวัติศาสตร์
Challenge Cup
แต่สำหรับการแข่งขันที่เป็นจริงเป็นจังขึ้น คือ การเอาสโมสรในยุโรปหลายๆ สโมสรมาแข่งกันเพื่อหาสโมสรที่เก่งที่สุด มีบันทึกเป็นครั้งแรกในชื่อ ชาลเลนจ์ คัพ ที่เกิดขึ้นในปี 1897-1911
การแข่งขันฟุตบอลถ้วยนี้ เกิดขึ้นจากชายผู้มีชื่อว่า จอห์น แกรมลิก (John Gramlick) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมคริกเก็ตและฟุตบอลเวียนนาด้วย
อย่างไรก็ตาม การแข่งขันถ้วยนี้เปิดโอกาสให้เฉพาะสโมสรฟุตบอลที่อยู่ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเท่านั้น (Austro-Hungarian Empire) สโมสรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมแข่งขันถ้วยนี้จึงมาจากเมืองเวียนนา ออสเตรีย, เมืองบูดาเปสต์ จากฮังการี และเมืองปราก จากสาธารณรัฐเช็ก
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีพ่ายแพ้และล่มสลาย การแข่งขันชาลเลนจ์คัพก็ยุติลงไปด้วย (ปี 1911) แต่ความนิยมฟุตบอลในยุโรปไม่ได้ล่มสลายตามไปด้วย จึงทำให้หลายประเทศในยุโรปเริ่มมีการเปิดตัวลีกฟุตบอลเป็นของตัวเอง
Mitropa Cup

ได้มีการริเริ่มที่จะจัดฟุตบอลถ้วยยุโรปขึ้นมาอีกครั้งในชื่อ Mitropa Cup ในการแข่งขันครั้งแรกๆ มีสโมสรจากออสเตรีย, ฮังการี, เช็กโกสโลวะเกีย และยูโกสลาเวียเข้าร่วม แต่หลังจากนั้นไม่นานก็มีสโมสรจากอิตาลีเข้ามาแทนยูโกสลาเวียที่ถอนตัวไป และเริ่มมีสโมสรจากสวิตเซอร์แลนด์ โรมาเนีย การแข่งขันฟุตบอลถ้วยนี้มีระยะเวลาตั้งแต่ 1927-1992
Cup of Nations
ขณะเดียวกันในปี 1930 มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยที่ชื่อ คัพ ออฟ เนชั่นส์ (Cup of Nations หรือ Coupe des Nations 1930) ที่ได้รวบรวมแชมป์ลีกของ 10 ประเทศมาแข่งขันกัน (ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์) หลายคนจึงถือว่าฟุตบอลถ้วยนี้คือต้นแบบของการแข่งขันยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก อย่างแท้จริง
เพราะถึงแม้จะมีการแข่งขันฟุตบอลถ้วยนี้แค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น แต่ก็กลายเป็นต้นแบบที่ทำให้หลายๆ องค์กรพยายามจะจัดการแข่งขันเช่นนี้ขึ้นอีกครั้ง จนกลายเป็นจุดกำเนิดของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในเวลาต่อมา
ประวัติ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
UCL ประวัติ – จุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ถ้วยยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ในปี 1948 มีการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปเป็นครั้งแรกในอเมริกาใต้ (South American Championship of Champions) การแข่งขันครั้งนั้นได้รับเสียงตอบรับที่ดีและประสบความสำเร็จมาก
จึงกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ กาเบรียล ฮาโนต์ (Gabriel Hanot) ที่เป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์กีฬาสุดโด่งดัง เลกิ๊ป (L’Équipe) ในฝรั่งเศส ร่วมก่อตั้งการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์ยุโรปร่วมกับ ฌาร์ค เฟอร์รัง (Jacques Ferran) ในชื่อ ยูโรเปียน แชมเปียนส์ คัพ (European Champions Cup)
และได้มีแมตช์ทดลองเป็นแมตช์ระหว่างวูล์ฟแฮมป์ตัน กับบูดาเปสต์ ฮอนเวด และที่พิเศษสุดคือแมตช์นี้มีการถ่ายทอดสดออกอากาศทาง BBC ด้วย ซึ่งถือเป็นวาระโอกาสพิเศษจริงๆ เพราะปกติจะมีการถ่ายทอดสดแค่แมตช์ชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพเท่านั้น
และด้วยการตอบรับของแฟนบอลที่ดีมาก จึงทำให้มีการเอาการแข่งขันถ้วยนี้มาทำให้เป็นจริงเป็นจังมากขึ้น และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของถ้วยยุโรป ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ขึ้นมาในปี 1955 ที่เมืองปารีส ประเทศฝรั่งเศส

European Cup
การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งแรก (ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า ยูโรเปียน คัพ; European Cup) เกิดขึ้นในฤดูกาล 1955-56 มีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมทั้งหมด 16 ทีม ซึ่งก็มีทั้งสโมสรที่ได้แชมป์ลีก และสโมสรที่ได้รับเชิญ ประกอบไปด้วย
- เอซี มิลาน (อิตาลี)
- เอจีเอฟ อาร์ฮุส (เดนมาร์ก)
- อันเดอร์เลชท์ (เบลเยียม)
- ดุงการ์เดน (สวีเดน)
- กวาเดียร์ วอร์ซอ (โปแลนด์)
- ฮิเบอร์เนียน (สกอตแลนด์)
- ปาร์ติซาน เบลเกรด (ยูโกสลาเวีย ชื่อในขณะนั้น)
- พีเอสวี ไอนด์โฮเฟ่น (เนเธอร์แลนด์)
- ราปิด เวียนนา (ออสเตรีย)
- เรอัล มาดริด (สเปน)
- ร็อตไวส์ เอสเซ่น (เยอรมนีตะวันตก)
- ซาร์บรีคเค่น (รัฐอารักขาชาลันด์ในฝรั่งเศส-ปัจจุบัน)
- เอฟซี เซอร์เวต (สวิตเซอร์แลนด์)
- สปอร์ติง ซีพี หรือสปอร์ติง ลิสบอน (โปรตุเกส)
- แร็งส์ (ฝรั่งเศส)
- เอ็มทีเค บูดาเปสต์ (ฮังการี)
แมตช์แรกของยูโรเปียน คัพ เป็นการแข่งขันระหว่างทีมสปอร์ติง ลิสบอน และปาร์ติซาน เบลเกรด โดยมีผลการแข่งขันคือ 3-3
ส่วนแมตช์ชิงแชมป์ครั้งแรก เป็นการแข่งขันระหว่าง เรอัล มาดริด และ แร็งส์ ผลคือ เรอัล มาดริดชนะ 4-3 เป็นสโมสรแรกที่ได้ครองถ้วยแชมป์ยูโรเปียน คัพ และยังสามารถครองแชมป์ได้ติดต่อกันถึง 5 สมัยติดกัน ก่อนที่จะเปลี่ยนมือไปเป็นของเบนฟิกา สโมสรฟุตบอลจากโปรตุเกสในปี 1960-61
หลังจากที่เบนฟิกาได้ถ้วยยูโรเปียนไปครองแล้ว คราวนี้ก็เป็นการผลัดกันระหว่างเอซี มิลาน และอินเตอร์ มิลาน
European Cup ปี 1968
จนกระทั่งในปี 1967-68 ก็ถึงคราวที่แฟนบอลจากอังกฤษจะได้เฮกันดังๆ บ้าง เมื่อ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เป็นสโมสรฟุตบอลจากอังกฤษทีมแรกที่สามารถคว้าถ้วยยูโรเปียน คัพมาครองได้สำเร็จ ด้วยการชนะทีมเบนฟิก้า 4-1 ประตู ที่สนามเวมบลีย์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
และที่ต้องจดจำก็คือ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคว้าถ้วยแชมป์นี้ได้หลังจากเกิดโศกนาฏกรรมเครื่องบินตกในมิวนิค ‘โศกนาฏกรรมมิวนิค‘ ที่เป็นสาเหตุให้นักเตะ 8 คนเสียชีวิต
หลังจากนั้นก็มีสโมสรเซลติกจากสกอตแลนด์มาคว้าแชมป์ถ้วยนี้ และมีเฟเยนูร์ดจากเนเธอร์แลนด์สลับมาคว้าแชมป์กันไป
การแข่งขันเต็มไปด้วยความสนุกและเข้มข้น เพราะทุกทีมต่างก็เล่นกันอย่างเต็มที่ ที่เกมพลิกบ่อยๆ ก็มี หรือบางปีก็มีทีมเล็กๆ เข้าไปได้จนถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ หรือรอบชิงชนะเลิศ สร้างความตื่นเต้นให้แฟนบอลเป็นอย่างยิ่ง
และเนื่องจากสโมสรส่วนใหญ่เป็นแชมป์ลีกมาอยู่แล้ว หากคว้าแชมป์นี้ได้ ก็จะได้ดับเบิ้ลแชมป์ ถือเป็นปีที่ยิ่งใหญ่มากๆ ของสโมสรนั้นๆ ด้วย

ในปี 1992-93 มีการรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อเป็น Champions League โดยทีม มาร์กเซย ได้แชมป์ไปครองด้วยการชนะ เอซี มิลาน สกอร์ 1 – 0 ประตู
UEFA Champions League ครั้งแรก ปี 1992–93

ปีที่ต้องจดจำอีกปี คือปี 1992 ที่มาร์กเซยได้แชมป์ (ด้วยการชนะทีมเอซี มิลาน 1-0 ประตู) แต่ครั้งนี้มีการเปลี่ยนชื่อจากยูโรเปียน คัพ มาเป็น ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก อย่างเป็นทางการ
และเป็นครั้งแรกที่สโมสรฟุตบอลจากฝรั่งเศสสามารถคว้าแชมป์บอลยุโรปนี้ได้ด้วย และจนถึงทุกวันนี้ ก็ยังไม่มีสโมสรฟุตบอลจากฝรั่งเศสใดที่สามารถคว้าแชมป์ บอลยูฟ่าแชมป์เปียนลีก นี้ได้อีกเลย
กฎ กติกา และรูปแบบการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ปัจจุบันนี้ (ก่อนปี 2024) จะมีสโมสรฟุตบอลทั่วยุโรปทั้งหมด 32 ทีมเข้าร่วมการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในแต่ละปี โดยเลือกจากแชมป์ลีกของแต่ละประเทศ และอาจจะมีอันดับที่ 2-4 ของลีกในแต่ละประเทศเข้าร่วมด้วย
ยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก รูปแบบใหม่ ปี 2024
โดยขึ้นอยู่กับ “ค่าสัมประสิทธิ์” ที่เกิดจากผลงานของแต่ละลีกนั้นๆ ในส่วนนี้เอามาคิดได้ทั้งจำนวนสโมสรของแต่ละลีกที่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้
สังเกตว่าลีกใหญ่ๆ อย่างอังกฤษ บอลอังกฤษ อิตาลี เยอรมัน จะมีสโมสรที่ผ่านเข้ามาในรอบ 32 ทีมสุดท้ายมากถึง 4 สโมสร ขณะที่ลีกในประเทศเล็กๆ อย่างโปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ อาจจะให้แค่แชมป์ และรองแชมป์เพียง 2 สโมสรเข้ามาร่วมแข่งขันด้วยเท่านั้น
นอกจากนี้ค่าสัมประสิทธิ์ ยังมีผลต่อการจับสลากแบ่งสายอีกด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้สโมสรใหญ่ๆ ต้องเจอกันเองตั้งแต่ในรอบแบ่งกลุ่ม และอาจพบว่าสโมสรที่มาจากประเทศเดียวกัน ก็จะไม่ถูกจับให้อยู่ในสายเดียวกัน
โดยการจับสลากแบ่งกลุ่มนี้ จะมีการถ่ายทอดสดออกอากาศเพื่อความโปร่งใส
หลังจากนั้นการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่ม (Group stage) ก็จะเริ่มขึ้น มี 8 กลุ่ม โดยแต่ะละกลุ่มมีการแข่งทั้งหมด 6 แมตช์ ทุกสโมสรจะต้องเจอกันทั้งในบ้านและนอกบ้าน สโมสรที่ทำผลงานดีที่สุด 2 อันดับแรก จะได้ไปเล่นในรอบต่อไป หรือที่เรียกกันว่ารอบน็อกเอาต์
ส่วนสโมสรที่ได้อันดับ 3 ของสาย จะได้โอกาสไปเล่นบอลถ้วยยุโรปอีกถ้วยหนึ่งที่ชื่อว่า ยูโรป้า ลีก
ในรอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย (Round of 16) สโมสรที่ทำคะแนนดีที่สุดเป็นอันดับ 1 จะได้ไขว้สายไปเจอกับอันดับสองของสายอื่นๆ และหลังจากนั้นจะขึ้นอยู่กับผลแพ้ชนะอย่างแท้จริง การแข่งขันจะมีขึ้น 2 รอบ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน
ยกเว้นแมตช์ชิงชนะเลิศที่มักจะใช้สนามกลาง และแข่งขันเพียงแค่รอบเดียวเท่านั้น ใครชนะก็คว้าแชมป์ไปเลย
ยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก รูปแบบใหม่ ปี 2024 (UCL 2024)
ฟุตบอลถ้วยยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก รูปแบบใหม่ ที่(น่าจะ)เริ่มใช้งานจริงครั้งแรก ตั้งแต่ปี 2024 เป็นต้นไป
- มีการเพิ่มสิทธิ์ให้กับอีก 4 สโมสร ทำให้รวมทั้งหมดเป็น 36 ทีม จากเดิมที่มี 32 ทีม
- ยกเลิกการเตะแบบแบ่งกลุ่ม ให้เปลี่ยนไปเป็นการเตะแบบ 10 แมตซ์ เหย้า 5 เยือน 5 โดยเป็นการพบคู่แข่งแบบสุ่มตามความแข็งแกร่งแตกต่างกันไป เพื่อเกลี่ยให้เหมาะสม
- โดยมีการคิดคะแนนตามเดิม คือ ชนะได้ 3 คะแนน, เสมอได้ 1 คะแนน, แพ้ ไม่ได้คะแนน
- 8 ทีมแรกที่มีคะแนนมากที่สุด จะได้ผ่านเข้าสู่รอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย
- ส่วนทีมอันดับ 9 ถึง 24 จะต้องทำการเตะเพลย์ออฟ(เหย้า-เยือน) เพื่อหา 8 ทีม ผ่านเข้าสู่รอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย
- ส่วนทีมอันดับ 25 ถึง 36 ก็จะตกรอบจากรายการนี้ และไม่ได้สิทธิ์เข้าร่วม ยูโรป้า ลีก, ยูโรป้า คอนเฟอเรนซ์ ลีก แต่อย่างใด
- สำหรับรอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย จะใช้รูปแบบเหมือนเดิม คือ แข่งขันแบบเหย้า-เยือน
รูปแบบการแข่งขันใหม่นี้ เกิดขึ้นเพื่อเป็นการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง ทั้งในแง่ของผลประโยชน์ที่แต่ละสโมสรจะได้รับ การให้สิทธิ์เพิ่มแก่สโมสรใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น เป็นต้น เพื่อเป็นการต่อกรกับแนวคิดในการที่อาจจะมีการรวมตัวกันเองของบรรดาสโมสรใหญ่ๆ ดังที่เคยเกิดกรณีพิพาท ‘European Super League‘ มาแล้ว
ถ้วยรางวัล และเงินรางวัลที่ได้จากการแข่งขัน
ถ้วย UCL

ถ้วยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทุกปี สโมสรที่ได้แชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก จะได้รับถ้วยรางวัลจริงๆ ให้กลับไปชื่นชม แต่ก็จะต้องมีการทำจำลองขึ้น ถ้วย UCL จําลอง เพื่อเก็บไว้ที่สโมสร ก่อนที่การแข่งขันในฤดูกาลใหม่จะเริ่มต้นขึ้น
แต่มีกฏข้อหนึ่งของยูฟ่าได้ระบุไว้ในฤดูกาล 1968-69 ว่า ถ้วยแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกนี้จะเป็นสมบัติของสโมสรที่ชนะการแข่งขัน 5 ครั้ง หรือชนะ 3 ครั้งติดต่อกัน

และผู้ที่ได้รับเกียรตินี้ มีด้วยกันทั้งหมด 5 ทีม คือเรอัล มาดริด (ได้ถ้วยดั้งเดิมแบบแรก), อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม, บาเยิร์น มิวนิค, เอซี มิลาน และลิเวอร์พูล


UEFA Champions League Winners Badge
ตราสัญลักษณ์แชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก – นอกจากถ้วยรางวัลแล้ว ยังมีสิ่งที่ใช้เชิดชูสโมสรที่ได้แชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 5 ครั้งหรือชนะ 3 ครั้งติดต่อกัน คือ “ตราเกียรติยศ” หรือ Badge ให้เอาไปติดที่บริเวณแขนซ้ายของเสื้อนักเตะ โดยตราสัญลักษณ์นี้จะเป็นรูปถ้วยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ที่มีตัวเลขจำนวนครั้งที่สโมสรได้รางวัลนี้อยู่ด้วย
“Teams get special Champions League Winners Badge for at lease 5 UCL titles / 3 UCL titles in a row”

สโมสรฟุตบอลล่าสุดที่ได้รับตรานี้ คือ บาร์เซโลน่า
ส่วนเรอัล มาดริด คือสโมสรที่ได้ครอบครองตราสัญลักษณ์นี้ โดยมีตัวเลข 13 (ล่าสุดคือ 14 เพราะคว้าแชมป์ UCL ปี 2022 ไปครองได้สำเร็จ) อยู่ภายใน ซึ่งหมายถึงการเป็นแชมป์บอลยุโรปที่มากที่สุดนั่นเอง
เงินรางวัลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก เงินรางวัล – เงินรางวัลที่ได้รับ จะแบ่งออกตามการผ่านเข้ารอบดังต่อไปนี้
- เข้าถึงรอบแบ่งกลุ่ม 32 ทีม – จะได้เงินรางวัล 15,250,000 ยูโร (€) (ประมาณ 564 ล้านบาท)
- ทีมที่ชนะในรอบแบ่งกลุ่ม – จะได้รับเงินรางวัลเพิ่ม 2,700,000 ยูโร (ประมาณ 99.9 ล้านบาท)
- ทีมที่เสมอในรอบแบ่งกลุ่ม – จะได้รับเงินรางวัลเพิ่ม 900,000 ยูโร (ประมาณ 33.3 ล้านบาท)
- เข้าถึงรอบน็อกเอาต์ 16 ทีมสุดท้าย – จะได้รับเงินรางวัล 9,500,000 ยูโร (ประมาณ 351.3 ล้านบาท)
- เข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ (Quarter-finals) – จะได้รับเงินรางวัล 10,500,000 ยูโร (ประมาณ 388.3 ล้านบาท)
- เข้าถึงรอบรองชนะเลิศ (Semi-finals) – จะได้รับเงินรางวัล 12,000,000 ยูโร (ประมาณ 443.8 ล้านบาท)
- ผู้แพ้ในรอบชิงชนะเลิศ (Losing finalist) – จะได้รับเงินรางวัล 15,000,000 ยูโร (ประมาณ 554.7 ล้านบาท)
- ผู้ชนะยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (Winning the Final) – จะได้รับเงินรางวัล 19,000,000 ยูโร (ประมาณ 702.6 ล้านบาท)
หมายเหตุ: ราคาเทียบเงินบาท คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ 36.98 บาท ต่อ 1 ยูโร (€)
แชมป์ยูฟ่า ได้เงินเท่าไหร่, แชมป์ ucl ได้เงินเท่าไหร่ – ทีมที่เป็นแชมป์ อาจจะได้เงินรางวัลรวมสูงสุดถึง 82,400,000 ยูโร ขึ้นอยู่กับผลงานในรอบต่างๆที่ผ่านมา
ด้วยจำนวนเงินรางวัลที่มหาศาลขนาดนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การเข้าแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก จะเป็นจุดมุ่งหมายที่เป็นที่สุดของสโมสรฟุตบอลในยุโรป
เพราะนอกจากจะได้จารึกลงไปในประวัติศาสตร์ทั้งของยูฟ่า และของสโมสรแล้ว เงินรางวัลเหล่านี้อาจพลิกสถานการณ์ของสโมสรได้เลย โดยเฉพาะสโมสรที่ประสบปัญหาด้านการเงิน มีหนี้สิน หรือไม่มีเงินซื้อนักเตะดีๆ เข้าทีม แค่ได้ผ่านเข้ามาเล่นรอบแบ่งกลุ่มก็ถือว่าคุ้มแล้ว
ทีมที่ชนะแชมเปียนส์ลีกได้เงินเท่าไหร่? – Football World | คำถามแฟนบอล
“UCL กับ UEL” เม็ดเงินต่างกันแค่ไหน | Hattrick Hero
เพลงยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
เพลง UCL เพลงประจำการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก มีชื่อเรียกว่า ‘UEFA Champions League Anthem‘ ประพันธ์โดยศิลปินชาวอังกฤษ นามว่า Tony Britten ในปี 1992
โดยเพลงนี้จะใช้เปิดในสนาม ก่อนที่จะเริ่มการแข่งขัน และเปิดในการถ่ายทอดสดทั้งตอนเริ่มและจบการถ่ายทอดสด
“Magic… it’s magic above all else. When you hear the anthem it captivates you straight away.”
Zinedine Zidane
เนื้อเพลง UEFA Champions League
เนื้อร้อง: Tony Britten
ดนตรี: Royal Philharmonic Orchestra (PRO)
ร้องประสานเสียง: Academy of St Martin in the Fields (ASMF)
Ce sont les meilleures équipes (French)
Sie sind die allerbesten Mannschaften (German)
The main event (English)
Die Meister Die Besten (German)
Les grandes équipes (French)
The champions (English)
Une grande réunion (French)
Eine große sportliche Veranstaltung (German)
The main event (English)
Ils sont les meilleurs (French)
Sie sind die Besten (German)
These are the champions (English)
Die Meister Die Besten (German)
Les grandes équipes (French)
The champions (English)
Die Meister Die Besten (German)
Les grandes équipes (French)
The champions (English)
คำแปล:
These are the best teams
They are the best teams
The main event
The Masters the best
The biggest teams
The champions
A big gathering
A big sports event
The main event
They are the best
They are the best
These are the champions
The Masters the best
The biggest teams
The champions
The Masters the best
The biggest teams
The champions
เพลงยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (แปลไทย)
ทำไมเพลงประกอบการแข่งขัน ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก จึงถูกเรียกว่า “เสียงปลุกวิญญาณ” ?
สถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
- แชมป์ยูฟ่าเยอะที่สุด, แชมป์ยูฟ่ามากที่สุด, แชมป์ยูฟ่า มากที่สุด, แชมป์ ucl มากที่สุด – เรอัล มาดริด คือสโมสรฟุตบอลที่คว้าแชมป์ได้มากที่สุด คือ 14 สมัย ส่วนอันดับ 2 ตกเป็นของเอซี มิลาน 7 สมัย
- สโมสรฟุตบอลจากอังกฤษ สามารถคว้าแชมป์ได้มากที่สุด 5 สโมสร ได้แก่ ลิเวอร์พูล, แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, เชลซี, นอตติงแฮม ฟอเรสต์, และแอสตัน วิลล่า
- กลาสโกว์ เซลติก เป็นสโมสรเดียวจากสกอตแลนด์ ที่สามารถคว้าแชมป์ได้ เช่นเดียวกับ มาร์กเซยที่เป็นสโมสรเดียวจากฝรั่งเศส และเรดสตาร์ เบลเกลดจากเซอร์เบีย
- ยูเวนตุส เป็นสโมสรฟุตบอลที่คว้าตำแหน่งรองแชมป์ได้มากที่สุด คือ 7 สมัย รองลงมาคือบาเยิร์น มิวนิค และเบนฟิก้า 5 สมัย
- คริสเตียโน่ โรนัลโด คือนักเตะที่สามารถทำประตูได้สูงที่สุดในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 140 ประตู ตามมาด้วยลิโอเนล เมสซี 125 ประตู
- ซลาตัน อิบราฮิโมวิช คือนักเตะที่สามารถทำประตูในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้มากที่สุด จากการลงเล่นให้สโมสรทั้งหมด 6 สโมสร ได้แก่ อาแจ็กซ์ อัมสเตอร์ดัม, ยูเวนตุส, อินเตอร์ มิลาน, บาร์เซโลน่า, เอซี มิลาน, และเปแอสเช
- คริสเตียโน่ โรนัลโด คือนักเตะที่ลงเล่นในยูฟ่าแชมเปียนลีกมากที่สุด 183 นัด ตามมาด้วยอิเคร์ กาซิยาส ที่ลงเล่นไป 177 นัด
ทําเนียบแชมป์ UCL
ตารางแชมป์ยูฟ่า แชมป์ UCL ทั้งหมด ตารางแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แชมป์ UCL แต่ละปี
ทำเนียนแชมป์ ยูโรเปียน คัพ / ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ตั้งแต่ปี 1955 – 2022
ฤดูกาล | แชมป์ | สกอร์ | รองแชมป์ | สนาม |
2021-22 | เรอัล มาดริด | 1 – 0 | ลิเวอร์พูล | สต๊าด เดอ ฟรองซ์, ปารีส |
2020-21 | เชลซี | 1 – 0 | แมนเชสเตอร์ซิตี้ | เอสตาดิโอ โด ดราเกา, ปอร์โต้ |
2019-20 | บาเยิร์น มิวนิค | 1 – 0 | ปารีส แซงต์-แชร์กแมง | เอสตาดิโอ ดา ลุซ, ลิสบอน |
2018-19 | ลิเวอร์พูล | 2 – 0 | ท็อตแนม ฮ็อตสเปอร์ | ว่านต๋า เมโทรโปลิตาโน, มาดริด |
2017-18 | เรอัล มาดริด | 3 – 1 | ลิเวอร์พูล | โอลิมปิก เนชั่นแนล สปอร์ต คอมเพล็กซ์, เคียฟ |
2016-17 | เรอัล มาดริด | 4 – 1 | ยูเวนตุส | มิลเลนเนียม สเตเดี้ยม, คาร์ดิฟฟ์ |
2015-16 | เรอัล มาดริด | 1 – 1 (จุดโทษ 5 – 3) | แอตเลติโก มาดริด | ซาน ซิโร, มิลาน |
2014-15 | บาร์เซโลน่า | 3 – 1 | ยูเวนตุส | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, เบอร์ลิน |
2013-14 | เรอัล มาดริด | 4 – 1 (หลังต่อเวลาพิเศษ) | แอตเลติโก มาดริด | เอสตาดิโอ ดา ลุซ, ลิสบอน |
2012-13 | บาเยิร์น มิวนิค | 2 – 1 | โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ | เวมบลีย์, ลอนดอน |
2011–12 | เชลซี | 1 – 1 (จุดโทษ 4 – 3) | บาเยิร์น มิวนิค | อลิอันซ์ อารีนา, มิวนิค |
2010–11 | บาร์เซโลน่า | 3 – 1 | แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด | เวมบลีย์, ลอนดอน |
2009–10 | อินเตอร์ มิลาน | 2 – 0 | บาเยิร์น มิวนิค | ซานติอาโก้ เบร์นาเบว, มาดริด |
2008–09 | บาร์เซโลน่า | 2 – 0 | แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, โรม |
2007–08 | แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด | 1 – 1 (จุดโทษ 6 – 5) | เชลซี | ลุซนิกิ สเตเดี้ยม, มอสโก |
2006–07 | เอซี มิลาน | 2 – 1 | ลิเวอร์พูล | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, เอเธนส์ |
2005–06 | บาร์เซโลน่า | 2 – 1 | อาร์เซนอล | สต๊าด เดอ ฟรองซ์, ปารีส |
2004–05 | ลิเวอร์พูล | 3 – 3 (จุดโทษ 3 – 2) | เอซี มิลาน | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, อิสตันบูล |
2003–04 | ปอร์โต้ | 3 – 0 | โมนาโก | เฟลตินส์ อารีนา, เกลเซนเคียร์เชน |
2002–03 | เอซี มิลาน | 0 – 0 (จุดโทษ 3 – 2) | ยูเวนตุส | โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด, แมนเชสเตอร์ |
2001–02 | เรอัล มาดริด | 2 – 1 | ไบเออร์ เลเวอร์คูเซน | แฮมป์เดน ปาร์ค, กลาสโกว์ |
2000–01 | บาเยิร์น มิวนิค | 1 – 1 (จุดโทษ 5 – 4) | บาเลนเซีย | แฮมป์เดน ปาร์ค, กลาสโกว์ |
1999–2000 | เรอัล มาดริด | 3 – 0 | บาเลนเซีย | สต๊าด เดอ ฟรองซ์, ปารีส |
1998–99 | แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด | 2 – 1 | บาเยิร์น มิวนิค | คัมป์นู, บาร์เซโลน่า |
1997–98 | เรอัล มาดริด | 1 – 0 | ยูเวนตุส | อัมสเตอร์ดัม อารีนา, อัมสเตอร์ดัม |
1996–97 | โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ | 3 – 1 | ยูเวนตุส | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, มิวนิค |
1995–96 | ยูเวนตุส | 1 – 1 (จุดโทษ 4 – 2) | อาแจ๊กซ์ | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, โรม |
1994–95 | อาแจ๊กซ์ | 1 – 0 | เอซี มิลาน | แอ็นสท์-ฮัพเพิล-สตาดิโอน, เวียนนา |
1993–94 | เอซี มิลาน | 4 – 0 | บาร์เซโลน่า | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, เอเธนส์ |
1992–93* | โอลิมปิค มาร์กเซย | 1 – 0 | เอซี มิลาน | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, มิวนิค |
1991–92**
**European Cup ครั้งสุดท้าย |
บาร์เซโลน่า | 1 – 0 (หลังต่อเวลาพิเศษ) | ซามพ์โดเรีย | เวมบลีย์, ลอนดอน |
1990–91 | เร้ดสตาร์ เบลเกรด | 0 – 0 (จุดโทษ 5 – 3) | โอลิมปิค มาร์กเซย | สตาดิโอ ซาน นิโกลา, บารี |
1989–90 | เอซี มิลาน | 1 – 0 | เบนฟิก้า | พราเตอร์ สเตเดี้ยม, เวียนนา |
1988–89 | เอซี มิลาน | 4 – 0 | สเตอัว บูคาเรสต์ | คัมป์นู, บาร์เซโลน่า |
1987–88 | พีเอสวี ไอนด์โฮเฟน | 0 – 0 (จุดโทษ 5 – 3) | เบนฟิก้า | เมอร์เซเดส เบนซ์ อารีนา, สตุ๊ดการ์ต |
1986–87 | ปอร์โต้ | 2 – 1 | บาเยิร์น มิวนิค | พราเตอร์ สเตเดี้ยม, เวียนนา |
1985–86 | สเตอัว บูคาเรสต์ | 0 – 0 (จุดโทษ 2 – 0) | บาร์เซโลน่า | รามอน ซานเชซ ปิซฆวน, เซบีญา |
1984–85 | ยูเวนตุส | 1 – 0 | ลิเวอร์พูล | เฮย์เซล สเตเดียม, บรัสเซลส์ |
1983–84 | ลิเวอร์พูล | 1 – 1 (จุดโทษ 4 – 2) | โรม่า | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, โรม |
1982–83 | ฮัมบูร์ก | 1 – 0 | ยูเวนตุส | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, เอเธนส์ |
1981–82 | แอสตัน วิลล่า | 1 – 0 | บาเยิร์น มิวนิค | เดอ เกยป์, ร็อตเตอร์ดัม |
1980–81 | ลิเวอร์พูล | 1 – 0 | เรอัล มาดริด | ปาร์ก เดส์ แพร็งส์, ปารีส |
1979–80 | น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ | 1 – 0 | ฮัมบูร์ก | ซานติอาโก้ เบร์นาเบว, มาดริด |
1978–79 | น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ | 1 – 0 | มัลโม | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, มิวนิค |
1977–78 | ลิเวอร์พูล | 1 – 0 | คลับ บรูช | เวมบลีย์, ลอนดอน |
1976–77 | ลิเวอร์พูล | 3 – 1 | โบรุสเซีย มึนเชนกลัดบัค | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, โรม |
1975–76 | บาเยิร์น มิวนิค | 1 – 0 | แซงต์ เอเตียง | แฮมป์เดน ปาร์ค, กลาสโกว์ |
1974–75 | บาเยิร์น มิวนิค | 2 – 0 | ลีดส์ ยูไนเต็ด | ปาร์ก เดส์ แพร็งส์, ปารีส |
1973–74 | บาเยิร์น มิวนิค | 1 – 1 (แข่งใหม่ 4 – 0) | แอตเลติโก มาดริด | ปาร์ก เดส์ แพร็งส์, ปารีส |
1972–73 | อาแจ๊กซ์ | 1 – 0 | ยูเวนตุส | เรด สตาร์ สเตเดี้ยม, เบลเกรด |
1971–72 | อาแจ๊กซ์ | 2 – 0 | อินเตอร์ มิลาน | เดอ เกยป์, ร็อตเตอร์ดัม |
1970–71 | อาแจ๊กซ์ | 2 – 0 | อิพานาธิไนกอส | เวมบลีย์, ลอนดอน |
1969–70 | เฟเยนูร์ด | 2 – 1 (หลังต่อเวลาพิเศษ) | เซลติก | ซาน ซิโร, มิลาน |
1968–69 | เอซี มิลาน | 4 – 1 | อาแจ๊กซ์ | ซานติอาโก้ เบร์นาเบว, มาดริด |
1967–68 | แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด | 4 – 1 (หลังต่อเวลาพิเศษ) | เบนฟิก้า | เวมบลีย์, ลอนดอน |
1966–67 | เซลติก | 2 – 1 | อินเตอร์ มิลาน | เอสตาดิโอ นาซิอองนาล, ลิสบอน |
1965–66 | เรอัล มาดริด | 2 – 1 | ปาร์ติซาน เบลเกรด | เฮย์เซล สเตเดียม, บรัสเซลส์ |
1964–65 | อินเตอร์ มิลาน | 1 – 0 | เบนฟิก้า | ซาน ซิโร, มิลาน |
1963–64 | อินเตอร์ มิลาน | 3 – 1 | เรอัล มาดริด | พราเตอร์ สเตเดี้ยม, เวียนนา |
1962–63 | เอซี มิลาน | 2 – 1 | เบนฟิก้า | เวมบลีย์, ลอนดอน |
1961–62 | เบนฟิก้า | 5 – 3 | เรอัล มาดริด | โอลิมปิค สเตเดี้ยม, อัมสเตอร์ดัม |
1960–61 | เบนฟิก้า | 3 – 2 | บาร์เซโลน่า | วังค์ดอร์ฟ สเตเดี้ยม, เบิร์น |
1959–60 | เรอัล มาดริด | 7 – 3 | แฟรงค์เฟิร์ต | แฮมป์เดน ปาร์ค, กลาสโกว์ |
1958–59 | เรอัล มาดริด | 2 – 0 | แร็งส์ | เมอร์เซเดส-เบนซ์ อารีนา, สตุ๊ตการ์ต |
1957–58 | เรอัล มาดริด | 3 – 2 (หลังต่อเวลาพิเศษ) | เอซี มิลาน | เฮย์เซล สเตเดียม, บรัสเซลส์ |
1956–57 | เรอัล มาดริด | 2 – 0 | ฟิออเรนตินา | ซานติอาโก้ เบร์นาเบว, มาดริด |
1955–56 | เรอัล มาดริด | 4 – 3 | แร็งส์ | ปาร์ก เดส์ แพร็งส์, ปารีส |
เรอัล มาดริด แชมป์ยูฟ่า กี่สมัย, มาดริดได้แชมป์ยูฟ่ากี่สมัย
ทีม | จำนวนครั้งที่เป็นแชมป์ UCL | ปีที่ได้แชมป์ UCL |
เรอัล มาดริด | 14 | 1956, 1957, 1958, 1959, 1960, 1966, 1998, 2000, 2002, 2014, 2016, 2017, 2018, 2022 |
เอซี มิลาน | 7 | 1963, 1969, 1989, 1990, 1994, 2003, 2007 |
บาเยิร์น มิวนิค | 6 | 1974, 1975, 1976, 2001, 2013, 2020 |
ลิเวอร์พูล | 6 | 1977, 1978, 1981, 1984, 2005, 2019 |
บาร์เซโลน่า | 5 | 1992, 2006, 2009, 2011, 2015 |
อาแจ๊กซ์ | 4 | 1971, 1972, 1973, 1995 |
อินเตอร์ มิลาน | 3 | 1964, 1965, 2010 |
แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด | 3 | 1968, 1999, 2008 |
เชลซี | 2 | 2012, 2021 |
ยูเวนตุส | 2 | 1985, 1996 |
เบนฟิกา | 2 | 1961, 1962 |
น็อตติงแฮม ฟอเรสต์ | 2 | 1979, 1980 |
ปอร์โต้ | 2 | 1987, 2004 |
กลาสโกว์ เซลติก | 1 | 1967 |
ฮัมบูร์ก | 1 | 1983 |
สเตอัว บูคาเรสต์ | 1 | 1986 |
โอลิมปิก มาร์กเซย | 1 | 1993 |
โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ | 1 | 1997 |
เฟเยนูร์ด | 1 | 1970 |
แอสตัน วิลลา | 1 | 1982 |
พีเอสวี ไอนด์โฮเฟน | 1 | 1988 |
เรดสตาร์ เบลเกรด | 1 | 1991 |
ทำเนียบแชมป์ UCL ตั้งแต่ปี 2000-2021
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2022
UEFA Champions League 2022 แชมป์ บอลยูฟ่า แชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 2022 คือ เรอัล มาดริด (Real Madrid) ที่สามารถพลิกคำวิจารณ์คว่ำยอดทีมจากเกาะอังกฤษ ลิเวอร์พูล ไปได้ด้วยสกอร์ 1 – 0 บอลยูฟ่า รอบชิง แชมป์ยูฟ่า 2022
โดยได้ฟอร์มเซฟอันยอดเยี่ยมของ ธิโบต์ กูร์ตัวส์ (Thibaut Courtois) มือกาวชาวเบลเยียม โชว์ฟอร์มซูปเปอร์เซพถึง 9 ครั้ง ปฏิเสธประตูจากบรรดากองหน้าระดับพระกาฬของหงษ์แดง
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิง
UEFA Champions League Final
บอลยูฟ่า รอบชิง ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก นัดชิงชนะเลิศ ไฮไลต์ Champions League 21/22
การเซฟประตูยอดเยี่ยม UCL
UCL 2021-22 กูร์ตัวส์ โชว์ซูเปอร์เซฟคว้า แมนออฟเดอะแมตช์ พา มาดริด เป็นจ้าวยุโรปสมัย 14
ผ่าแทคติก “อันเชล็อตติ” ผู้พิชิตหงส์แดง และคืนความสงบให้ชาวโลก